วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมท้ายบทหน่วยการเรียนรู้ที่ 9

การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน (Reporting)

การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร
การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือ การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

การประสานงาน (CO-ORDINATION)

สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงาน มีดังนี้

- การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม

- การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน

- การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี

- มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ

- การประสานงานโดยวิธีควบคุม

เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีดังนี้

- จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน

- การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

- การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ

- การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ

- การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

- การติดตามผล

จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ

                อุปสรรคของการประสานงาน คือ การขาดความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจนกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ทำไม่สามารถดำเนินไปได้ การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ การปฏิบัติงานแบบไม่มีแผน ซึ่งจะทำให้บุคคลอื่น ๆ ไม่ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน การก้าวก่ายหน้าที่การงาน การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีจะทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน การขาดการนิเทศงานที่ดี ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะทำให้เกิดความร่วมมือและประสานงานกันเพราะว่ามีฝีมือคนละชั้น การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดเจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้ ระยะทางติดต่อห่างไกลกันและเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจ
จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดีจงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
                ศูนย์การเรียนรู้ตำนานศาลเจ้าแม่เขาสามมุขมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดีคือ มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีมีการประชุม / ปรึกษาหารือกัน มีการฝึกอบรมทำให้ผู้รับการอบรมทราบถึงนโยบายใหม่ ๆ และวิธีการปฏิบัติงาน มีการสร้างขวัญและกำลังใจของคนในองค์การ มีผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้นำ มีการวางแผนงานที่ดีซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่าจะต้องปฏิบัติงานอะไร

การประสานงาน (Coordinating), การรายงาน (Reporting) , งบประมาณ (Budgeting)


1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

การประสานงานแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

                1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ การประสานงานภายในองค์การ หมายถึง การประสานงานภายในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ส่วนการประสานงานภายนอกองค์การเป็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือการติดต่อกับบุคลลภายนอกต่าง ๆ

                2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ การประสานงานในแนวดิ่ง หมายถึง การประสานงานจากผู้บังคับบัญชามาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Top down) และการประสานงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา (Bottom up) ส่วนการประสานงานในแนวราบ หมายถึง การประสานงานในระดับเดียวกัน

2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

                ความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือ ช่วยในการทำงานเพราะจะทำให้งานสำเร็จลุล่วงและราบรื่น  ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทำให้ไม่เกิดการขัดแย้ง  สร้างความขวัญและกำลังใจในการทำงานประหยัดเงิน วัสดุ และสิ่งของในการดาเนินงาน  และช่วยสร้างความสามัคคีธรรมในหมู่คณะและความเข้าใจอันดีเสริมสร้างขวัญในการทางานของผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

3. การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร

                การรายงานผลการดาเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสาคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดาเนินงาน และเป็นการนาเสนอเพื่อปรับปรุงในการดาเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

4. ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

                งบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรเป็นองค์ประกอบที่สาคัญยิ่งซึ่งประกอบด้วย

-         หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

-         หมวดค่าจ้างชั่วคราว

-         หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ

-          หมวดค่าสาธารณูปโภค

-          หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

-         หมวดเงินอุดหนุน

-         หมวดรายจ่ายอื่น

5. เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

                เงินอุดหนุนโดยอนุโลม ได้แก่  ค่าฌาปนกิจ  , ค่าสินบน, ค่ารางวัลนำจับ   และเงินอื่น ๆ ที่สานักงบประมาณจำ กำหนดเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 5 ดูงานที่สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา


การบำรุงรักษาหนังสือและวัสดุสื่อโสตทัศนศึกษา

นโยบายการบำรุงรักษาหนังสือ งานบำรุงรักษาทรัพยากร ทำหน้าที่บำรุงรักษาหนังสือให้มีสภาพดี เหมาะสมกับการให้บริการในห้องสมุดซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหนังสือทุกเล่มจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาเพื่อให้มีสภาพรูปเล่มที่มั่นคงแข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยงานบำรุงรักษาทรัพยากร มีนโยบายในการดำเนินงานดังนี้คือ

                1. หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์ กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 3ประเภทได้แก่หนังสือปกแข็ง  หนังสือปกอ่อน  และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา)   หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง            
               2. หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย

                - การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair)

                - การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair)

                - การซ่อมบางส่วน (Partial repair)

                - การเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding)

กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย

                3. การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้ จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ

                4. สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมารับการบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับหรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 น. ของวันทำการปกติ หากได้รับแจ้งหลังจากเวลานี้ผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วันถัดมา

                5. วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้ จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อม การเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม


นโยบายการบำรุงรักษาวัสดุสื่อโสตทัศนศึกษา
            การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดมีวัตถุประสงค์ในการตอบสนองต่อความต้องการในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของนิสิต คณาจารย์ ตลอดจนพนักงานของมหาวิทยาลัยทุกคน ดังนั้นสำนักหอสมุดจึงจัดให้วัสดุสารสนเทศทุกชิ้นมีไว้เพื่อใช้และจำเป็นต้องแบ่งปัน โดยวัสดุสารสนเทศเหล่านี้ต้องได้รับการดูแล บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้สำนักหอสมุดจึงขอร้องท่านผู้ใช้บริการทุกท่าน ขอได้โปรดใช้ด้วยความระมัดระวังและถนอมรักษา เพื่อว่าในอนาคตชาวมหาวิทยาลัยบูรพารุ่นต่อ ๆ ไปจะยังคง มีโอกาสได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศอันเป็นสมบัติของมหาวิทยาลัยสืบไป

การบำรุงรักษาวัสดุสื่อโสตทัศนศึกษา   การสูญหายหรือถูกทำลายของวัสดุสารสนเทศ เป็นความพยายามอย่างยิ่งของสำนักหอสมุดที่จะดำเนินการป้องกันและพยายามรักษาสภาพของวัสดุสารสนเทศให้อยู่ในสภาพที่ดีและมีความสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของนิสิตและคณาจารย์มากที่สุด การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาทดแทนของเดิมที่สูญหายหรือถูกทำลายไปนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก  เนื่องจากสำนักหอสมุดต้องใช้งบประมาณจัดซื้อมาใหม่และส่วนใหญ่มีราคาแพง หายาก แม้ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ที่เพิ่งออกใหม่ก็ตาม บางครั้งก็ไม่สามารถหาซื้อได้ ปัญหาหนังสือหายหรือถูกฉีกทำลาย ซึ่งเป็นปัญหาโดยตรงต่อสำนักหอสมุดนั้น ท่านผู้ใช้บริการอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาสำหรับท่าน จนกว่าท่านจะเกิดความไม่พอใจเมื่อพบว่าวัสดุสารสนเทศที่ต้องการนั้นมีในห้องสมุดแต่ไม่สามารถหาได้เนื่องจากสูญหายไปแล้วจาก Collection ของห้องสมุด   เจ้าหน้าที่ของสำนักหอสมุดทุกคนปรารถนาให้วัสดุสารสนเทศของสำนักหอสมุดได้รับการดูแลและบำรุงรักษาอย่างระมัดระวัง ไม่มีเจ้าหน้าที่ห้องสมุดคนใดจะต้องการให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับสื่อสารสนเทศที่ต้องการ ดังนั้น สำนักหอสมุดจึงขอร้องท่านผู้ใช้บริการทุกท่านให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของสำนักหอสมุดในการบำรุงรักษาและป้องกันไม่ให้วัสดุสารนิเทศชำรุดเสียหายด้วยความประมาทเลินเล่อหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สำนักหอสมุดไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการรับประทานอาหาร ขนม หรือดื่มเครื่องดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ในห้องสมุด   ท่านผู้ใช้บริการสามารถช่วยบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยการหยิบจับอย่างทนุถนอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือเก่า กระดาษกรอบบาง รวมทั้งช่วยป้องกันและระมัดระวังหนังสือให้พ้นจากน้ำฝน แสงแดดและไม่ทิ้งไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิร้อนจัด เช่น ในรถยนต์ที่จอดไว้กลางแจ้ง เป็นต้น รวมทั้งการถนอมรักษาหนังสือจากการถ่ายสำเนาเอกสาร ด้วยการไม่พับมุมหน้าหนังสือ วิธีที่ถูกต้องควรใช้กระดาษบางคั่นและระบุเลขหน้าที่ต้องการถ่าย และขอได้โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ถ่ายสำเนาได้พึงระวังรักษาหนังสือมิให้บอบช้ำจากการดึงและกดทับตัวเล่มกับเครื่อง ซึ่งจะทำให้สันหนังสือฉีกขาดได้ง่าย  สำนักหอสมุดจะดำเนินการโดยเคร่งครัดกับผู้ที่ฝ่าฝืนนำวัสดุสารสนเทศออกจากห้องสมุดโดยมิได้ยืมตามระเบียบทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบวินัยที่บัญญัติแห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยวินัยนิสิต พ.ศ. 2539 การฝ่าฝืนวินัยดังกล่าวครอบคลุมความผิดที่กระทำดังนี้คือ การขโมยวัสดุสารนิเทศ การไม่คืนวัสดุสารสนเทศตามกำหนดเมื่อได้รับการทวงถาม การทำลาย ตัด ฉีกหนังสือ วารสารหรือหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้ทำการขโมย หรือทำลายวัสดุของสำนักหอสมุดด้วย


วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4

แบบฝึกหัด หลักการจัดการคน (Staffing)และ หลักการสั่งการ (Directing)

ข้อ1. ระบบการบริหารงานบุคคลมีอะไรบ้าง

ตอบ    หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ

1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์

                1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบ

                1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน

                1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ

                1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท

2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ


ข้อ2. การจำแนกตำแหน่งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  การจำแนกตำแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท                                                            

1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสําคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น

                2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ

                3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์


ข้อ3. ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคนมีอะไรบ้าง

ตอบ    ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคน คือ ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ


ข้อ4. การวางแผนกำลังคนที่ดีมีอะไรบ้าง

ตอบ   การวางแผนกำลังคนที่ดี คือ

1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน

2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง

3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสําคัญ                ของงานระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นเพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification

4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ

5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก

6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (JobEnlargement)

ข้อ5. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ    องค์ประกอบของการอำนวยการดังนี้


1.ความเป็นผู้นำ เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นา 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย


                2.การจูงใจ มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอานวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจาเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทางาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสาเร็จในชีวิต


ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคาถามก่อนว่าพอมีเวลาหรือไม่หรือคุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม


                3. การติดต่อสื่อสาร เป็นกระบวนการสําคัญช่วยให้การอานวยการดาเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง


                4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอานวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อานวยการจึงต้องทาให้เกิดความสมดุลกัน


ข้อ6. ประเภทของการอำนวยการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  ประเภของการอำนวยการมี 2 ประเภทดังนี้


โดยวาจา


                โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่


                                1. ทาบันทึกข้อความ


                                2. หนังสือเวียน


                                  3. คาสั่ง


                                 4. ประกาศ


ข้อ7. รูปแบบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง

ตอบ  รูปแบบของการอำนวยการมีดังนี้


1.คาสั่งแบบบังคับ


                2.คาสั่งแบบขอร้อง


                3.คาสั่งแบบแนะนาหรือโดยปริยาย


                4.คำสั่งแบบขอความสมัครใจ


ข้อ8. การอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
อบ การอำนวยการที่ดีดังนี้
ต้องชัดเจน
ให้คาสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
ถ้าผู้รับคาสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที 
ใช้นาเสียงให้เป็นประโยชน์
วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง                                                      
ใช้ถ้อยคาอย่างสุภาพ                                                                                                      
ลดคาสั่งที่มีลักษณะห้ามการกระทาให้เหลือน้อยที่สุด                                                                                       
อย่าออกคาสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป                                                                                                                  
ต้องแน่ใจว่าการออกคาสั่งหลาย ๆ คาสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคาสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคาสั่ง


ข้อ9. ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร

ตอบ    ความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือการอำนวยการในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องพิจารณาปัญหาและความก้าวหน้าของหน่วยงานโดยมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรเป็นหลักในการตัดสินใจ  ดังนั้นการอำนวยการต้องใช้ศาสตร์และศิลปะของการบริหารงานบุคคลในการอำนวยการกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ  มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน  โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์  ดังนั้นการจัดการของผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ  ชี้แนะบุคลลากร นิเทศงานและการติดตามผลเพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยมีหัวใจของการบริหารจัดการ คือ “การตัดสินใจ” เพราะผลของการตัดสินใจย่อมกระทบต่อพฤติกรรมขององค์กรตลอดเวลา