วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4

แบบฝึกหัด หลักการจัดการคน (Staffing)และ หลักการสั่งการ (Directing)

ข้อ1. ระบบการบริหารงานบุคคลมีอะไรบ้าง

ตอบ    หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ

1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์

                1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบ

                1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน

                1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ

                1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท

2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ


ข้อ2. การจำแนกตำแหน่งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  การจำแนกตำแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท                                                            

1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสําคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น

                2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ

                3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์


ข้อ3. ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคนมีอะไรบ้าง

ตอบ    ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคน คือ ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ


ข้อ4. การวางแผนกำลังคนที่ดีมีอะไรบ้าง

ตอบ   การวางแผนกำลังคนที่ดี คือ

1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน

2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง

3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสําคัญ                ของงานระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นเพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification

4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ

5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก

6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (JobEnlargement)

ข้อ5. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ    องค์ประกอบของการอำนวยการดังนี้


1.ความเป็นผู้นำ เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นา 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย


                2.การจูงใจ มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอานวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจาเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทางาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสาเร็จในชีวิต


ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคาถามก่อนว่าพอมีเวลาหรือไม่หรือคุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม


                3. การติดต่อสื่อสาร เป็นกระบวนการสําคัญช่วยให้การอานวยการดาเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง


                4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอานวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อานวยการจึงต้องทาให้เกิดความสมดุลกัน


ข้อ6. ประเภทของการอำนวยการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  ประเภของการอำนวยการมี 2 ประเภทดังนี้


โดยวาจา


                โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่


                                1. ทาบันทึกข้อความ


                                2. หนังสือเวียน


                                  3. คาสั่ง


                                 4. ประกาศ


ข้อ7. รูปแบบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง

ตอบ  รูปแบบของการอำนวยการมีดังนี้


1.คาสั่งแบบบังคับ


                2.คาสั่งแบบขอร้อง


                3.คาสั่งแบบแนะนาหรือโดยปริยาย


                4.คำสั่งแบบขอความสมัครใจ


ข้อ8. การอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
อบ การอำนวยการที่ดีดังนี้
ต้องชัดเจน
ให้คาสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
ถ้าผู้รับคาสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที 
ใช้นาเสียงให้เป็นประโยชน์
วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง                                                      
ใช้ถ้อยคาอย่างสุภาพ                                                                                                      
ลดคาสั่งที่มีลักษณะห้ามการกระทาให้เหลือน้อยที่สุด                                                                                       
อย่าออกคาสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป                                                                                                                  
ต้องแน่ใจว่าการออกคาสั่งหลาย ๆ คาสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคาสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคาสั่ง


ข้อ9. ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร

ตอบ    ความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือการอำนวยการในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องพิจารณาปัญหาและความก้าวหน้าของหน่วยงานโดยมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรเป็นหลักในการตัดสินใจ  ดังนั้นการอำนวยการต้องใช้ศาสตร์และศิลปะของการบริหารงานบุคคลในการอำนวยการกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ  มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน  โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์  ดังนั้นการจัดการของผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ  ชี้แนะบุคลลากร นิเทศงานและการติดตามผลเพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยมีหัวใจของการบริหารจัดการ คือ “การตัดสินใจ” เพราะผลของการตัดสินใจย่อมกระทบต่อพฤติกรรมขององค์กรตลอดเวลา
 

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 เรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง วางแผน Planning - Organizing


กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผน (Planning)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ที่อยู่:  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

ข้อ 1. นโยบายของศูนย์วิสัยทัศน์และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
วิสัยทัศน์
       มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย
พันธกิจ
       ส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณภาพทรัพยากรบุคคลของประเทศ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทบาทและหน้าที่

       1. เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์   ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์ การศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมแก่สังคม
       2. ดำเนินการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติวิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ ดาราศาสตร์และ อวกาศ แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ในรูปแบบของการจัด นิทรรศการ การแสดง กิจกรรมการศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ
       3. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ข้อมูลวิชาการและรูปแบบด้านเทคนิค เพื่อจัดทำสื่อ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สื่อนิทรรศการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์
       4. ประสานงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภารกิจของหน่วยงาน
       5. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินงานด้านการเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
       6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ


ข้อ 2. แหล่งที่มาของศูนย์

ปี
สังกัด
รายละเอียด
พ.ศ. 2498
กรมวิชาการ
จัดตั้งกองอุปกรณ์การศึกษา
พ.ศ. 2501
กรมวิชาการ
คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มอบอาคาร ศาลาวันเด็กในบริเวณสนามเสือป่า
พ.ศ. 2505
กรมวิชาการ
คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย มล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้าง ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
พ.ศ. 2507
กรมวิชาการ
วันที่ 18 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารท้องฟ้าจำลอง
พ.ศ. 2514
กรมวิชาการ
สภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2518
กรมวิชาการ
เดือน สิงหาคม เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2519
กรมวิชาการ
ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ จัดตั้งหน่วยงานระดับกองหน่วยใหม่ คือ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก คือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2522
กรมการศึกษา นอกโรงเรียน
-วันที่ 24 มีนาคม ประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานในสังกัด
-วันที่ 9 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ. 2537
กรมการศึกษา นอกโรงเรียน
เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2551
สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
-เปลี่ยนชื่อกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
-เปลี่ยนชื่อสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย



ข้อ 3. แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)

โครงสร้างการบริหารงาน

ที่มาของข้อมูล http://www.sciplanet.org/main.php?filename=index


กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ (Organizing)

สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

แหล่งอ้างอิง

ที่อยู่:  หน่วยเครื่องมือพิเศษเพื่อการวิจัย สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล               ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700



โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

 แบบ Line Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ


จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด


โครงสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา


แหล่งอ้างอิง

ที่อยู่:  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110


เว็บไซต์:  http://www.sciplanet.org/ewt_news.php?nid=9&filename=index

โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

แบบ Line Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ


จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด