วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการเลือกใช้และประเมินมาตรฐานสื่อการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอน




ชื่อสื่อการสอน  เรียงคำหรรษา  
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 
1.              ด้านพุทธิพิสัย
- ผู้เรียนสามารถอธิบายโครงสร้างของประโยค ได้
- ผู้เรียนสามารถเรียงคำที่กำหนดให้เป็นประโยค
- ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
2. ด้านจิตพิสัย
- ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผสมคำแต่ละคำในการแต่งประโยค
- ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม
3. ด้านทักษะพิสัย
                - ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการแต่งประโยค
                - ผู้เรียนสามรถวิเคราะห์รูปภาพแล้วนำคำที่กำหนดให้มาแต่งประโยคได้                                                       
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.    แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม  
2.ติดบัตรคำบนกระดานครั้งละ 3 ใบ พร้อมภาพประกอบ ให้กลุ่มที่ยกมือได้เร็วที่สุดออกมาเรียงคำในบัตรคำให้เป็นประโยค และให้เพื่อนกลุ่มอื่นร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง อ่านประโยคตามครู และอ่านประโยคพร้อมกัน
ตัวอย่างบัตรคำในกิจกรรมนี้
                ๏ ของขวัญ            มิกกี้เมาส์               ถือ                           (มิกกี้เมาส์ถือของขวัญ)
                ๏ นิทาน                อ่าน                        สติช                       (สติชอ่านนิทาน)
                ๏ กิน                      หมีพูห์                   น้ำผึ้ง                      (หมีพูห์กินน้ำผึ้ง)
                ๏ เพลง                  ร้อง                         โดเรมอน               (โดเรมอนร้องเพลง)
                ๏ โคนัน                การ์ตูน                   วาด                         (โคนันวาดการ์ตูน)
3. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโครงสร้างของประโยค ลักษณะของประโยค และการเรียงคำที่กำหนดให้เป็นประโยคโดยครูใช้คำถาม ดังนี้
                ๏ ประโยค ประกอบด้วยโครงสร้างอย่างไร (ประธาน กริยา กรรม)
                ๏ ประโยค คือ ข้อความที่มีลักษณะอย่างไร (บอกให้รู้ว่า ใครทำอะไร หรือใครเป็นอะไร)
              ๏ มีวิธีการเรียงคำให้เป็นประโยคได้อย่างไร (นำคำมาเรียงกันให้ได้ความหมาย และมีใจความครบสมบูรณ์)
4.ให้นักเรียนทำกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้โดยเรียงคำที่กำหนดให้เป็นประโยค จากนั้นร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
5.ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ การนำคำมาเรียบเรียงเป็นข้อความที่บอกให้รู้ว่า ใครทำอะไร หรือใครเป็นอะไรเรียกว่า ประโยค                                                                                                                                                                                                   
        สาระสำคัญ  การนำคำมาเรียบเรียงเป็นข้อความที่บอกให้รู้ว่า ใครทำอะไร หรือใครเป็นอะไรเรียกว่า ประโยค
ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understanding)  นักเรียนสามารถสรุปได้ว่าการนำคำมาเรียบเรียงเป็นข้อความที่บอกให้รู้ว่า ใครทำอะไร หรือใครเป็นอะไรเรียกว่า ประโยค
สื่อการเรียนรู้
๑. บัตรคำ
๒. รูปภาพ
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
                ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มาตรฐานการเลือกสื่อการสอน
                จัดหาวัสดุได้ง่าย สะดวกต่อการเก็บรักษา สร้างบรรยากาศแปลกใหม่และแตกต่าง

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คุณค่าของวิธีระบบกับการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

วิธีระบบ (System Approach)
 

ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น

ระบบ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
และสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบ
ที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็
นปัญหาเร่วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
และสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบ
ที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ



ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน


องค์ประกอบของระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )
หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น
ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร
ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม
อากาศ เป็นต้น

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process)
หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)
หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)
จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ความหมายของสื่อการเรียนรู้
"สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media)หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆการเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่

ลักษณะของสื่อการสอนที่ดี
สื่อการสอนที่ดีย่อมช่วยให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. มีความเหมาะสมกับรูปแบบของการเรียนการสอน
3. มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4. มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการใช้สื่อ

สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)
สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น
-วัสดุ (Materials ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน
-โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Materials ) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
สรุปว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อกับผู้เรียน
1) เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
2) สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดความสนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
3) การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียนนั้น
4) ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
5) ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
6) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล


           สื่อกับผู้สอน
1) เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
2) สื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
3) เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีเพื่อการเรียน

เทคโนโลยีการสอน จึงหมายถึงการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นเทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวัตกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer - Based Instruction:CBI) การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล(ModularInstruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็นต้นเทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Multimedia) แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ

บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน

1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู 
โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครู                                
2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ(Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น การสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบกลุ่มเล็ก การสอนแบบกลุ่มใหญ่ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใดครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างด
5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู
6. ช่วยการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ 
จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาใช้การทดลองให้เห็นจริง
ที่มาของข้อมูล
http://senarak.tripod.com/system.htm
http://senarak.tripod.com/system.htm#1
http://www.learners.in.th/blog/pinning16/253680