วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 เรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง วางแผน Planning - Organizing


กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผน (Planning)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ที่อยู่:  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

ข้อ 1. นโยบายของศูนย์วิสัยทัศน์และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
วิสัยทัศน์
       มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย
พันธกิจ
       ส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณภาพทรัพยากรบุคคลของประเทศ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทบาทและหน้าที่

       1. เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์   ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์ การศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมแก่สังคม
       2. ดำเนินการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติวิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ ดาราศาสตร์และ อวกาศ แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ในรูปแบบของการจัด นิทรรศการ การแสดง กิจกรรมการศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ
       3. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ข้อมูลวิชาการและรูปแบบด้านเทคนิค เพื่อจัดทำสื่อ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สื่อนิทรรศการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์
       4. ประสานงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภารกิจของหน่วยงาน
       5. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินงานด้านการเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
       6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ


ข้อ 2. แหล่งที่มาของศูนย์

ปี
สังกัด
รายละเอียด
พ.ศ. 2498
กรมวิชาการ
จัดตั้งกองอุปกรณ์การศึกษา
พ.ศ. 2501
กรมวิชาการ
คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มอบอาคาร ศาลาวันเด็กในบริเวณสนามเสือป่า
พ.ศ. 2505
กรมวิชาการ
คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย มล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้าง ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
พ.ศ. 2507
กรมวิชาการ
วันที่ 18 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารท้องฟ้าจำลอง
พ.ศ. 2514
กรมวิชาการ
สภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2518
กรมวิชาการ
เดือน สิงหาคม เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2519
กรมวิชาการ
ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ จัดตั้งหน่วยงานระดับกองหน่วยใหม่ คือ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก คือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2522
กรมการศึกษา นอกโรงเรียน
-วันที่ 24 มีนาคม ประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานในสังกัด
-วันที่ 9 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ. 2537
กรมการศึกษา นอกโรงเรียน
เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2551
สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
-เปลี่ยนชื่อกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
-เปลี่ยนชื่อสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย



ข้อ 3. แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)

โครงสร้างการบริหารงาน

ที่มาของข้อมูล http://www.sciplanet.org/main.php?filename=index


กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ (Organizing)

สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

แหล่งอ้างอิง

ที่อยู่:  หน่วยเครื่องมือพิเศษเพื่อการวิจัย สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล               ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700



โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

 แบบ Line Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ


จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด


โครงสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา


แหล่งอ้างอิง

ที่อยู่:  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110


เว็บไซต์:  http://www.sciplanet.org/ewt_news.php?nid=9&filename=index

โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

แบบ Line Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ


จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น