วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(Watyansangvararam Agricultural Training and Development Centre (Under His Majesty The King Initiative Project)

ประวัติความเป็นมา          
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภุมิพลอดุลยเดช ได้ทอดพระเนตรเห็นความแห้งแล้งและความยากจนของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบๆพื้นที่วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2525 และทรงทราบถึงพระประสงค์ ในการที่จะพัฒนาพื้นที่วัดญาณฯ ของสมเด็จพระญาณสังวราสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เมื่อครั้งยังทรงเป็นเจ้าอาวาส วัดญาณสังวรารารามฯ อยู่ในขณะนั้น พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริกับคณะที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จให้ร่วมกันพิจารณาจัดและดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่วัดญาณฯ ขึ้น หนึ่งในโครงการดังกล่าวทรงมีพระราชดำรัสให้ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ องคมนตรีร่วมกับหน่วยงานต่างๆ พิจารณาจัดตั้งสถานที่ฝึกอบรมด้านการเกษตรให้แก่เยาวชน โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนเกษตรวัดญาณสังวราราม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 มีศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดปราจีนบุรี (สระแก้ว) เป็นผู้ดำเนินการหลัก
         ต่อมาได้รับการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2535 พร้อมกับ ชื่อใหม่คือ "ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"

ปรัชญา
คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
วิสัยทัศน์
"เป็นผู้นำในการฝึกอบรม วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรธรรมชาตินิเวศเขตร้อนของประเทศไทย และขยายผลสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘"

เป้าหมาย
      1.วิจัย พัฒนาระบบการผลิตเกษตรธรรมชาตินิเวศเขตร้อนเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับภูมิภาคด้วยความร่วมมือกับองค์กร สถาบัน และชุมชน
      2.สาธิต ฝึกอบรมเกษตรธรรมชาติให้กับประชาชน ผู้นำองค์กร เพื่อผลิตอาหารสุขภาพที่ปลอดภัย ให้กับสังคม รวมทั้งสร้างเครือข่ายการฝึกอบรมเกษตรธรรมชาตินิเวศเขตร้อนทุกภูมิภาคในประเทศ
      3.เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกษตรธรรมชาตินิเวศเขตร้อนผ่านขบวนการให้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแก่เกษตรกร องค์กร สถาบัน ทั้งในและต่างประเทศเพื่อขยายแนวคิดการผลิตอาหารสุขภาพ สร้างเสริมสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
      4.ให้การรับรองคุณภาพมาตรฐานเกษตรธรรมชาตินิเวศเขตร้อน กับเกษตรกร องค์กร เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคด้วยการตรวจสอบรับรองคุณภาพ
      5.จัดการศึกษาประกาศนียบัตรนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ มาตรฐาน สู่สังคมแห่งการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น